การพัฒนา

อย่างยั่งยืน

การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

ภาพรวมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเรา

นโยบายการจัดการด้านความยั่งยืน​

           บริษัทเห็นความสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน เพื่อให้บริษัทสามารถบริหารจัดการให้เติบโตอย่างมั่นคง บริษัทจึงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้ง การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ( Value Chain ) ภายใต้การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และจรรยาบรรณ นำมาเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึง การปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างมั่นคง และตามมาตรฐานสากล บริษัทกำหนดนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนในด้านต่างๆ ของบริษัท และสื่อสารไปยังพนักงานทุกระดับ เพื่อให้รับทราบทั่วทั้งองค์กร และมีการอนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยจัดให้มีการทบทวน นโยบายการพัฒนาความยั่งยืน เป็นประจำทุกปี   อย่างน้อยปีละ ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพื่อให้นโยบายสอดคล้องกับสภาวการณ์ และการดำเนินธุรกิจของบริษัท พร้อมเสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการให้พัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรที่มั่นคงอย่างยั่งยืน

นโยบาย

>

การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย​

บริษัท ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการติดตามทวงถามหนี้ และจัดเก็บหนี้ รวมถึงการดำเนินงานด้านกฎหมาย ควบคู่ไปพร้อมกับการดูแลและรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีจรรยาบรรณ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

การจัดการผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ​
ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจของบริษัท

กลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย >

การดำเนินงาน

กิจกรรมหลัก

(Primary Activities)

เงินทุน/การรับบริการ >

เงินทุน/การรับบริการ
การจัดหาเงินทุนจากผู้ถือหุ้น หรือสถาบันการเงินเพื่อการขยายธุรกิจในการให้บริการ พร้อมกับ จัดหาผู้รับบริการหรือผู้ว่าจ้างรายใหม่ศึกษาข้อมูลหนี้เสีย(NPL)ในอุตสาหกรรม เพื่อประเมินการลงทุนซื้อหนี้เสียร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ

การปฏิบัติงาน >

การปฏิบัติงาน
บริหารจัดการ การให้บริการติดตามหนี้ และจัดเก็บหนี้ และการให้บริการสนับสนุนในงานด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง พัฒนาการให้บริการอย่างครบวงจร ผสมผสานกับระบบการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการ ต่อการให้บริการในทุกด้าน ทั้งปัจจุบัน และในอนาคต

การวิเคราะห์ >

การวิเคราะห์
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ในกระบวนการติดตามทวงถามหนี้ และจัดเก็บหนี้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการปฏิบัติ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาหนี้ และศึกษาพฤติกรรมลูกหนี้ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนการปรับกระบวนการทำงาน และการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ

การตลาดและการขาย >

การตลาดและการขาย
สนับสนุน และส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือของผู้รับบริการ และหน่วยงานภายนอกพัฒนาคุณภาพการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล เพื่อการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น มาตรฐาน ISO ต่างๆ

การจัดการหลังให้บริการ >

การจัดการหลังให้บริการ
ตรวจสอบการปฏิบัติงาน และประเมินคุณภาพการให้บริการ (SLA) เพื่อพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพจัดการข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และ ตรวจสอบ หรือบรรเทาความเดือดร้อน อย่างเหมาะสม
กิจกรรมสนับสนุน

(Support Activities)

การบริหารทรัพยากรบุคคล >

การบริหารทรัพยากรบุคคลการ
บริษัทให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในการสรรหา และจัดการด้านแรงงาน การประเมินอัตรากำลังพนักงานให้เหมาะสม รวมถึงจัดการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ ด้านทักษะ ความรู้ความสามารถใหม่ๆ ตลอดจน การอบรมการเป็นผู้นำ ซึ่งจะส่งเสริมศักยภาพของพนักงานและบริษัทไปพร้อมกัน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญทางด้านอัตราจ้างแรงงาน การจ่ายค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆอย่างเหมาะสม โดยมีการเปรียบเทียบอัตราค่าจ้างในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน พร้อมทั้ง กำหนดตัวชี้วัด (KPI) และการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์ต่อการปรับเพิ่มเงินเดือน การจ่ายโบนัส และการปรับเลื่อนตำแหน่ง

โครงสร้างการจัดการ >

โครงสร้างการจัดการ
บริษัทให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ได้แก่ ด้านการบัญชีและการเงิน ด้านการบริหารจัดการ และการให้บริการ โดยเฉพาะโครงสร้างการจัดการด้านติดตามทวงถาม และจัดเก็บหนี้ (ตามอายุหนี้ของการค้างชำระ) เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการในทุกประเภทหนี้ และยังสามารถสนับสนุนงานด้านต่างๆต่อบุคลากร และผู้รับบริการอย่างเหมาะสม ทันเวลา

การเข้าร่วมกิจกรรม>

การเข้าร่วมกิจกรรม
บริษัทให้ความสำคัญ และส่งเสริมกระบวนการให้ช่วยเหลือลูกหนี้ของผู้รับบริการตามมาตรการต่างๆ ที่เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งที่ยังไม่มีการฟ้องร้อง จนถึงขั้นตอนการบังคับคดีเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้ให้แก่ลูกหนี้ พร้อมกับให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการของผู้รับบริการหลัก ร่วมกับ กรมบังคับคดี ในการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี ตามเขตพื้นที่และภูมิภาคต่างๆเป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเจรจาชำระหนี้

การพัฒนาเทคโนโลยี>

การพัฒนาเทคโนโลยี
บริษัทมุ่งเน้นในการสนับสนุนให้มีนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการติดตามทวงถาม และจัดเก็บหนี้ และกิจกรรมสนับสนุนการให้บริการด้านต่างๆ ให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น รวมถึง มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างสะดวก (Automated Process) และง่ายต่อการทำงานทุกระดับ ตลอดจน พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นรายงานสารสนเทศในรูปต่างๆ ภายใต้การรักษาความลับ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด

เป้าหมายและการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

ESG

ด้านสิ่งแวดล้อม >

ด้านสังคม >

ด้านกำกับดูแล/เศรษฐกิจ >