นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

บริษัทได้จัดทำนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท กระทำการอันใดที่เป็นการเกี่ยวข้องกับการทุจริตและคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรง หรือทางอ้อมต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อนและคนรู้จัก ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้ หรือผู้เสนอให้สินบน ทั้งที่เป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงิน แก่หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจหรือติดต่อด้วย โดยจะปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด

คำจำกัดความ

หมายความว่า บริษัท วินเพอร์ฟอร์มานซ์ จำกัด

 หมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท

 หมายถึง การกระทำใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอ (Offering) การให้คำมั่นสัญญา (Promising) การขอ (Soliciting) การเรียกร้อง (Demanding) การให้หรือรับ (Giving or Accepting) ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่ทำธุรกิจกับบริษัท ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มา หรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ ยกเว้นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้

 หมายถึง การช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน หรือในรูปแบบอื่นเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริมหรือสนับสนุนพรรคการเมือง การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จัดเพื่อระดมทุนหรือบริจาคเงินให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง เป็นต้น

 หมายถึง การบริจาคเงิน สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถคำนวณได้เป็นตัวเงินให้กับองค์กรสาธารณกุศล โดยไม่หวังผลตอบแทน

 หมายถึง เงินที่ได้ให้หรือได้รับ สิ่งของที่ได้ให้หรือได้รับ หรือผลตอบแทนอื่นใดที่จะสามารถคำนวณได้เป็นตัวเงิน จากลูกค้า คู่ค้า หุ้นส่วนางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท

หมายถึง การให้ หรือรับของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ ค่าเลี้ยงรับรอง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไม่เป็นการกระทำที่กระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัท แต่เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นการให้ หรือรับในนามบริษัท ไม่ใช่ใน นามพนักงาน โดยเหมาะสมกับเทศกาล เช่น ช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีน ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปกติ และเป็นไปอย่างเปิดเผย

 หมายถึง การดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่มีความต้องการส่วนตัว หรือของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยทางสายเลือดหรือทางอื่นใด เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ซึ่งอาจขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อผลประโยชน์สุงสุดของบริษัท

หมายถึง ค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตามกระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการกระทำอันชอบด้วยหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น รวมทั้งเป็นสิทธิที่นิติบุคคลพึงจะได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว

หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล

หน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ในการกาหนดและการกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร

(2) คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่สอบทานให้บริษัทมีการปฎิบัติเป็นไปตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมทั้งรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายในและงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย สอดคล้องตามระเบียบปฏิบัติ และมาตรฐานทางจริยธรรมที่ดี

(3) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารทุกระดับ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและส่งเสริมสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทkงธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

(4) ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานกระบวนการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ ระเบียบคำสั่งในการปฏิบัติงาน และอำนาจอนุมัติดำเนินการ ตลอดจนบทบัญญัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ โดยให้รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง

(5) ฝ่ายบริหารความเสี่ยง หรือคณะทำงานด้านการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่และรับผิดชอบในการให้คาปรึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

(6) บุคลากรของบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมถึงระเบียบปฏิบัติของบริษัท ข้อกาหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

ขอบเขตและแนวทางปฏิบัติ

(1) ห้ามบุคลากรของบริษัท เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตและคอร์รัปชั่น เพื่อประโยชน์ทั้งต่อบริษัท ตนเอง ครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

(2) บุคลากรของบริษัทต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

(3) บุคลากรของบริษัทที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น จะถูกพิจารณาโทษทำงวินัย ตามระเบียบของบริษัท และในขณะเดียวกันบริษัทมีนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อบุคลากรของบริษัทที่ปฏิเสธการทุจริตและคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

(4) บุคลากรของบริษัทไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยต้องแจ้งให้บริษัททราบผ่านช่องทางการรายงานที่กำหนดไว้ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัท

(5) บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคลากรของบริษัทที่ปฏิเสธการทุจริตและคอร์รัปชั่น หรือแจ้งเรื่องการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการแจ้งและรายงานการทุจริตและคอร์รัปชั่นตามที่บริษัทกำหนด โดยเรื่องที่ร้องเรียนและรายชื่อผู้ร้องเรียนจะถูกรักษาเป็นความมลับ

(6) บริษัทจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่ปลอดภัยให้บุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อีกทั้งสามารถให้คำแนะนำ แจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือร้องเรียน ในกรณีที่เกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่นได้

(7) บริษัทจะสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่บุคลากรของบริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น เพื่อให้บุคลากรของบริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นฉบับนี้ รวมถึง การแจ้งให้บุคคลภายนอกทราบว่า นโยบายของบริษัทคือการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยในการต่อต้านคอร์รัปชั่น

(8) บริษัทจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยมีการประเมินความเสี่ยง จัดลำดับความสำคัญและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ประเมินได้ รวมทั้งติดตามความคืบหน้าของมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

(9) บริษัทจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและสามารถป้องกันการเกิดทุจริตและคอร์รัปชั่นในการดำเนินธุรกิจ

(10) บริษัทจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงิน บัญชี กระบวนการบริหารบุคลากร กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบริษัท

(11) บริษัทจัดให้มีกระบวนการบริหารบุคลากรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรและบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอและเหมาะสมต่อการนำนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติ

(12) บริษัทจัดให้มีกระบวนการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการรายงาน การติดตามและการทบทวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นว่านโยบายมีความครบถ้วน เพียงพอ และทันต่อสถานการณ์

(13) บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าการทุจริตและคอร์รัปชั่น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชน

บริษัทกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบและระมัดระวังต่อรูปแบบการทุจริตและคอร์รัปชั่น ดังนี้

การช่วยเหลือทางการเมือง

บริษัท มีนโยบายไม่ช่วยเหลือทางการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือกระทำการอันเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดๆ โดยบริษัท มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเมือง ดังนี้
(1) บริษัท มีนโยบายไม่ช่วยเหลือทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองหรือนักการเมือง และไม่สนับสนุนทางการเงินหรือสิ่งของให้แก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกทางการเมืองใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

(2) บุคลากรของบริษัท มีสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้องไม่อ้างความเป็นพนักงานหรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใดๆ ของบริษัทไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆ ทางการเมืองหรือกระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเข้าใจว่า บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว

การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน 

บริษัทมีนโยบายในการควบคุมดูแลการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่า กิจกรรมดังกล่าวไม่ได้เป็นช่องทางให้เกิดการคอร์รัปชั่นโดยการกำหนดขั้นตอนและการควบคุมที่ชัดเจน ตลอดจนกระบวนการในการตรวจสอบและติดตาม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นไปตามระเบียบของบริษัท และถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนดังนี้
(1) กิจกรรมการบริจาคเงินและการจ่ายเงินสนับสนุนจะต้องดำเนินการในนามบริษัทเท่านั้น โดยต้องมั่นใจว่าการบริจาคและเงินสนับสนุนจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการให้สินบน และต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส โดยต้องระบุชื่อผู้รับบริจาคและ/หรือผู้รับการสนับสนุน และพิสูจน์ได้ว่ากิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง

(2) บุคลากรของบริษัทที่ประสงค์จะให้บริษัทเข้าร่วมบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุน จะต้องจัดทำแบบคำขออนุมัติการบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุน โดยระบุจำนวนเงิน ชื่อผู้รับบริจาค และ/หรือผู้รับการสนับสนุน และวัตถุประสงค์ของการบริจาคหรือสนับสนุน พร้อมแนบเอกสารประกอบ เสนอขออนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัท ตลอดจนนำส่งหลักฐานหรือใบเสร็จรับเงินให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบอย่างครบถ้วน

(3) บริษัทมีการติดตามและสอบทานเพื่อให้มั่นใจว่า การบริจาคเพื่อการกุศลหรือการใช้เงินสนับสนุนไม่ได้กระทำเพื่อการคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกำกับและการตรวจสอบภายใน

ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

บริษัทมีนโยบายห้ามบุคลากรของบริษัท เรียกร้อง รับ ให้ สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือสิ่งมีค่าใดๆ หรือประโยชน์อื่นใดกับลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หรือการกระทำใดๆ ที่เข้าข่ายดังกล่าว เว้นแต่กรณีปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญแก่กัน โดยบริษัทกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับค่าของขวัญ ค่าบริกำรต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดังนี้
(1) ห้ามบุคลากรของบริษัท เรียกร้อง รับ ให้ สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือสิ่งมีค่าใดๆ หรือประโยชน์อื่นใดจากลูกค้า คู่ค้า และ/หรือ จากบุคคลที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งเป็นการส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่น ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานอย่างไม่เป็นธรรม เกิดความลำเอียง หรือเกิดความลำบากใจ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

(2) การรับหรือการให้จะต้องไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบใดๆ ผ่านการกระทำที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจน หรือแอบแฝง เพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือหรือผลประโยชน์ตอบแทน ทำให้เกิดการยินยอมผ่อนปรนในข้อตกลงทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ การให้ของขวัญของบริษัทนั้น จะต้องให้ในนามบริษัท ไม่ใช่ในนามส่วนตัว โดยอาจจัดทำเป็นของขวัญที่มีตราสัญลักษณ์ของบริษัทก็ได้ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเทศกาลหรือสถานการณ์

(3) บุคลากรของบริษัทต้องไม่รับของขวัญหรือค่าตอบแทนใดๆ ที่เกินสมควร อันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ อย่างไรก็ตาม บุคลากรของบริษัทสามารถรับของขวัญ และ/หรือ ค่าบริการต้อนรับ และ/หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ หากเป็นไปตามเทศกาลหรือธรรมเนียมปฏิบัติโดยปกติ

(4) บริษัทจะประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรของบริษัท ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับของขวัญ การบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของบริษัท

(5) บริษัทจะประชาสัมพันธ์หรือแจ้งให้ลูกค้า คู่ค้า หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัททราบถึงนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับของขวัญ การบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของบริษัท ผ่านช่องทางหรือระบบการสื่อสาร เอกสาร หรือแผ่นพับที่ใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของบริษัท เป็นต้น

การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก

บริษัทไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกในรูปแบบใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะไม่ดำเนินการใดๆ และไม่ยอมรับการกระทำใดๆ เพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
(1) ห้ามบุคลากรของบริษัทให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ ค่าอำนวยความสะดวก หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ ประวิงกำรกระทำการ อันส่งผลต่อกำรดำเนินธุรกิจของบริษัท

(2) การติดต่องานกับภาครัฐ จะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

การว่าจ้างพนักงานรัฐ / เจ้าหน้าที่รัฐ

การว่าจ้างพนักงานรัฐ / เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการทุจริตและคอร์รัปชั่น อันเนื่องมาจากผลประโยชน์ทับซ้อน โดยอาจทำให้ลดทอนความเป็นกลางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของรัฐ เพื่อป้องกัน สถานการณ์ดังกล่าว บริษัทไม่มีนโยบายจ้างพนักงานรัฐ / เจ้าหน้าที่รัฐเป็นพนักงาน

5. การร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส

บริษัท ได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแส การกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตและคอร์รัปชั่น หรือประพฤติมิชอบของบุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียอื่น รวมถึงการละเมิดนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยมีกลไกในการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล ตลอดจนให้ความสำคัญกับารเก็บข้อร้องเรียนไว้เป็นความลับ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ร้องเรียนและผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของบริษัท
(1) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน เพื่อส่งเสริมให้บุคลำฃากรของบริษัท ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ บริษัทได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การรับเรื่องร้องเรียน การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการสรุปผล รวมถึงการคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือจากการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรของบริษัทเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ รวมถึงพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตและคอร์รัปชั่น หากผู้ใดพบข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือการทำกิจกรรม หรือรายการธุรกิจใดๆ ที่อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนนโยบายและแนวทำงปฏิบัติการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น หรือละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท จะต้องแจ้งหรือรายงานข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ที่เกี่ยวข้องตามช่องทางในการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสที่กำหนดไว้

(2) ช่องทางในการร้องเรียนและแจ้งเบาะแส
จดหมายส่งทาง : กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายงาน Compliance
บริษัท วินเพอร์ฟอร์มานซ์ จำกัด
ที่อยู่ 1768 อาคารไทยซัมมิท ชั้น 6 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

อีเมล์ : whistleblowing@winperform.com
อนึ่ง ทุกช่องทางในการแจงเบาะแสและข้อร้องเรียน เลขานุการบริษัทฯ จะทำหน้าที่ในการประสานงาน รับ-ส่งเรื่อง รวบรวม และติดตามผลการสอบสวน

(3) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน บริษัทกำหนดนโยบายและแนวทางในการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแสผู้กระทำผิด โดยจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ โดยผู้ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียนและเอกสารหลักฐานไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผย เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด

6. การติดตามและการทบทวนนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

บริษัทกำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย มาตรการหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ โดยทุกหน่วยงานตามโครงสร้างองค์กรมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันในการทบทวนให้เป็นไปอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

7. การอบรมและการสื่อสาร

บริษัท มีนโยบายที่จะสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และมาตรการในการดำเนินการให้บุคลากรของบริษัทและบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแจ้งให้บริษัทย่อย บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจได้รับทราบและปฎิบัติตาม โดยผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท การประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ของบริษัท หรือช่องทางอื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทเป็นองค์กรที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น มีความโปร่งใสในกำรดำเนินงานและสามารถตรวจสอบได้

8. การบริหารความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่น

บริษัทจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยมีการประเมินความเสี่ยง จัดลำดับความสำคัญและกำหนดมาตรการที่เหมาะสม รวมทั้งติดตามความคืบหน้าของมาตรการที่ได้ดำเนินไปแล้วอย่างสม่ำเสมอ

9. การควบคุมภายในและการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

บริษัทได้จัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่ประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง กระบวนกำรกำกับดูแลกิจการ และกิจกรรมที่สำคัญ หรือระบบงานต่างๆ ของบริษัท เช่น การดำเนินารจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินงานด้านพาณิชย์ เป็นต้น ว่ามีความเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ รวมทั้งมีการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย ข้อบังคับ นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง